จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บทคัดย่องานวิจัย ของจ่าสิบเอกทนง พุ่มพานิช

     
ทนง พุ่มพานิช 2553: การสร้างแบบทดสอบวัดทักษะมวยไทย สำหรับนักเรียนโรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
238 หน้า

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแบบทดสอบวัดทักษะมวยไทย  สำหรับนักเรียนโรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร แบบทดสอบ 9 รายการ 20 ทักษะ ได้แก่ การยืนจดมวย การเคลื่อนที่ การชกหมัด การถีบเท้าหน้า การถีบเท้าหลัง การเตะเท้าหน้า การเตะเท้าหลัง การใช้เข่า การใช้ศอก หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยวิธีของ Rovinelli และ Hambleton หาค่าความเชื่อถือกับนักเรียน จำนวน 30 คนโดยวิธีทดสอบซ้ำระยะเวลาห่างกัน 1 สัปดาห์หาค่าความเป็นปรนัยกับนักเรียนจำนวน 30 คนโดยใช้ผู้ประเมิน 2 คน ห่าค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสร้างเกณฑ์ปกติสำหรับนักเรียนโรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานครปีการศึกษา2553 จำนวน 150 คนชาย 82 คน หญิง 68 คน

                ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบทักษะการยืนจดมวย ค่าความเชื่อถือได้ของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง 0.98 0.96 ความเป็นปรนัย 0.97 0.96 การเคลื่อนที่ความเชื่อถือได้ 0.94 0.88 ความเป็นปรนัย 0.93 0.90 การชกหมัดความเชื่อถือได้ 0.92 0.90 ความเป็นปรนัย 0.89 0.88 การใช้เท้าในการถีบเท้าหน้าความเชื่อถือได้ 0.97 0.92 ความเป็นปรนัย 0.95 0.94 เท้าหลังความเชื่อถือได้ 0.97 0.95 ความเป็นปรนัย 0.95 0.95 การเตะเท้าหน้าความเชื่อถือได้ 0.98 0.95 ความเป็นปรนัย  0.95 0.95 เท้าหลังความเชื่อถือได้ 0.97 0.94  ความเป็นปรนัย 0.94 0.93 การใช้เข่าความเชื่อถือได้ 0.92 0.89  ความเป็นปรนัย 0.91 0.89การใช้ศอกความเชื่อถือได้ 0.94 0.91ความเป็นปรนัย 0.93 0.91

                การวิจัยในครั้งนี้ได้ แบบทดสอบวัดทักษะมวยไทยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น