จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บทคัดย่องานวิจัย ของจ่าสิบเอกทนง พุ่มพานิช

     
ทนง พุ่มพานิช 2553: การสร้างแบบทดสอบวัดทักษะมวยไทย สำหรับนักเรียนโรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
238 หน้า

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแบบทดสอบวัดทักษะมวยไทย  สำหรับนักเรียนโรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร แบบทดสอบ 9 รายการ 20 ทักษะ ได้แก่ การยืนจดมวย การเคลื่อนที่ การชกหมัด การถีบเท้าหน้า การถีบเท้าหลัง การเตะเท้าหน้า การเตะเท้าหลัง การใช้เข่า การใช้ศอก หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยวิธีของ Rovinelli และ Hambleton หาค่าความเชื่อถือกับนักเรียน จำนวน 30 คนโดยวิธีทดสอบซ้ำระยะเวลาห่างกัน 1 สัปดาห์หาค่าความเป็นปรนัยกับนักเรียนจำนวน 30 คนโดยใช้ผู้ประเมิน 2 คน ห่าค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสร้างเกณฑ์ปกติสำหรับนักเรียนโรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานครปีการศึกษา2553 จำนวน 150 คนชาย 82 คน หญิง 68 คน

                ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบทักษะการยืนจดมวย ค่าความเชื่อถือได้ของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง 0.98 0.96 ความเป็นปรนัย 0.97 0.96 การเคลื่อนที่ความเชื่อถือได้ 0.94 0.88 ความเป็นปรนัย 0.93 0.90 การชกหมัดความเชื่อถือได้ 0.92 0.90 ความเป็นปรนัย 0.89 0.88 การใช้เท้าในการถีบเท้าหน้าความเชื่อถือได้ 0.97 0.92 ความเป็นปรนัย 0.95 0.94 เท้าหลังความเชื่อถือได้ 0.97 0.95 ความเป็นปรนัย 0.95 0.95 การเตะเท้าหน้าความเชื่อถือได้ 0.98 0.95 ความเป็นปรนัย  0.95 0.95 เท้าหลังความเชื่อถือได้ 0.97 0.94  ความเป็นปรนัย 0.94 0.93 การใช้เข่าความเชื่อถือได้ 0.92 0.89  ความเป็นปรนัย 0.91 0.89การใช้ศอกความเชื่อถือได้ 0.94 0.91ความเป็นปรนัย 0.93 0.91

                การวิจัยในครั้งนี้ได้ แบบทดสอบวัดทักษะมวยไทยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บทคัดย่องานวิจัยนางสาวศรีสุดา ชานนท์


ชื่อเรื่อง                 รายงานการสร้างและผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะหลักภาษาไทย            
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์ 
สำนักงานเขตสวนหลวง  กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้ศึกษา             นางสาวศรีสุดา  ชานนท์
ปีการศึกษา           2553

บทคัดย่อ
                รายงานการศึกษาฉบับนี้เป็นการสร้างและรายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะหลักภาษาไทย             สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์  สำนักงานเขตสวนหลวง  กรุงเทพมหานคร   มีจุดมุ่งหมายเพื่อ
1.  เพื่อสร้างแบบฝึกเสริมทักษะหลักภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
2.  เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะหลักภาษาไทย  ที่พัฒนาขึ้นตามเกณฑ์  80/80
3.  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะหลักภาษาไทย
                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้   เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนมัธยม นาคนาวาอุปถัมภ์  แขวงสวนหลวง  เขตสวนหลวง  กรุงเทพมหานคร ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา  2552  โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster  Random  Sampling) มาจำนวน ห้องเรียน  ห้องเรียนละ  40  คน  ดำเนินการทดลองโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะหลักภาษาไทย  เริ่มทดลองในภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2552  ใช้เวลา  24  คาบเรียน  คาบเรียนละ  60  นาที  โดยใช้เวลาในการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนอย่างละ 1 คาบเรียน ใช้เวลาในการทำแบบฝึกเสริมทักษะหลักภาษาไทย  จำนวน  22  คาบเรียน   ซึ่งแบบฝึกเสริมทักษะหลักภาษาไทย   มีจำนวน  ชุด  ได้แก่  ชุดที่  1   เรื่อง  เสียงในภาษา  ชุดที่    เรื่อง  พยางค์และคำ  ชุดที่  3   เรื่อง  การสร้างคำไทย  ชุดที่  4   เรื่อง  ชนิดของคำ  ชุดที่  5   เรื่อง  ประโยคและชุดที่  เรื่องประโยคที่ใช้ในการสื่อสาร  โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ  Randomized  One  Group  Pretest  - Posttest  Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าสถิติแบบ  t – test  Dependent  Samples 
ผลการศึกษาพบว่า  แบบฝึกเสริมทักษะหลักภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมากและมีประสิทธิภาพ  83.17/85.68 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และผลการทดลองใช้แบบฝึกเสริมทักษะหลักภาษาไทย  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน               วิชาภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บทคัดย่องานวิจัยของนายสุชาติ สาลีวรรณ์


ชื่องานวิจัย          การฝึกทักษะปฏิบัติด้านจังหวะการร้องเพลงให้ตรงจังหวะและทำนองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1
ผู้วิจัย                   นายสุชาติ  สาลีวรรณ์

ชั้น                        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
วัตถุประสงค์การวิจัย                    
                              1.เพื่อพัฒนาทักษะการร้องเพลงไทยในจังหวะและทำนองโดยใช้เทปเพลงประกอบการสอน
                               2.เพื่อเปรียบเทียบผลการฝึกทักษะปฏิบัติด้านการร้องเพลงให้ถูกจังหวะและทำนองของนักเรียนหลังจากฝึกด้วยวิธีการใช้เทปประกอบการสอน
สภาพปัญหา          นักเรียนขาดทักษะในการร้องเพลงให้ตรงตามจังหวะและทำนอง
วิธีการ/นวัตกรรม  สังเกตปัญหาในการร้องเพลงไทยที่นักเรียนร้องไม่ตรงกับจังหวะและทำนอง ของนักเรียนโดยใช้เครื่องมือดังนี้ 
                             1.แบบฝึกเพิ่มทักษะและพัฒนาเรื่องจังหวะและทำนอง
                             2.แบบบันทึกข้อมูลการปฏิบัติร้องเพลง
นวัตกรรม           1.เทปประกอบการสอนร้องเพลง
สรุปผลการวิจัย   ผลการวิจัยพบว่า  นักเรียนสามารถปฏิบัติทักษะพื้นฐานด้านการร้องเพลงไทยได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 100 โดยมีผลระดับมากจำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 80 และระดับพอใช้ จำนวน 11 คน
คิดเป็นร้อยละ 44

บทคัดย่องานวิจัยของนายธาดา ปานนพภา


หัวข้อวิจัย                   การสร้างบทเรียนบทเรียนออนไลน์เรื่องคอมพิวเตอร์กราฟิกชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย                          นายธาดา  ปานนพภา
อาจารย์ที่ปรึกษา         ดร.สุรพล  บุญลือ
                                   ดร.สรกฤษ  มณีวรรณ
หลักสูตร                    โครงการฝึกอบรมวิจัยและพัฒนาสื่อเทคโนโลยี
                                   สำนักการศึกษา  กรุงเทพมหานคร
พ.ศ.                           2552

                                                                                บทคัดย่อ
           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและประเมินคุณภาพ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ เรื่องคอมพิวเตอร์กราฟิก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย   1) บทเรียนบทเรียนออนไลน์เรื่องคอมพิวเตอร์กราฟิกชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2     2) การประเมินคุณภาพของบทเรียนบทเรียนออนไลน์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมป์  สำนักเขตสวนหลวง  กรุงเทพมหานคร จำนวน 40 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling) ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนบทเรียนออนไลน์ที่สร้างขึ้นมีคุณภาพด้านเนื้อหา โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.60 อยู่ในเกณฑ์ดี และคุณภาพด้านสื่อการนำเสนอ  โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.61  อยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อนำมาทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเพื่อหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนบทเรียนออนไลน์มีค่าเฉลี่ย 4.30  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.74  อยู่ในเกณฑ์ ดี   ดังนั้นบทเรียนออนไลน์เรื่องคอมพิวเตอร์กราฟิกชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้
คำสำคัญ : บทเรียนออนไลน์ / คอมพิวเตอร์กราฟิก

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บทคัดย่องานวิจัยของนางสาวจุไรวรรณ เสาสูงยาง


ชื่อเรื่อง                        การเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ  ของนักเรียน
                                     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน 
                                      กับแบบ  4MAT
ผู้วิจัย                          นางสาวจุไรวรรณ  เสาสูงยาง
กรรมการควบคุม      รองศาสตราจารย์  ดร.ลักขณา  สริวัฒน์  และ
                                     รองศาสตราจารย์  ดร.วิมลรัตน์  สุนทรโรจน์
ปริญญา                       กศ.ม.      สาขาวิชา    หลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัย             มหาวิทยาลัยมหาสารคาม      ปีที่พิมพ์    2553

บทคัดย่อ

                   ผู้วิจัยได้พบปัญหาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด  เขต  2  กำหนด  พร้อมทั้งเห็นความสำคัญของการเรียนภาษาอังกฤษทั้ง  4  ทักษะ  ได้แก่  ทักษะการฟัง  พูด  อ่าน  และเขียน  โดยเฉพาะทักษะการอ่านภาษาอังกฤษที่มีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน  จึงได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานกับแบบ  4MAT  ขึ้น  ซึ่งมีประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะ การอ่านภาษาอังกฤษ  ความมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ  1)  หาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานกับแบบ  4MAT  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  70/70                    2)  หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานและ                    แบบ  4MAT  3)  เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา    ปีที่  1  ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานกับแบบ  4MAT  และ  4)  ศึกษา      ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน  และแบบ  4MAT  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนทรายทองวิทยา  อำเภอโพนทราย  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด   เขต  2  ปีการศึกษา  2552  จำนวน  75  คน  จำนวน  2  ห้อง  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย  (Sample  Random  Sampling)  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/1  จำนวน  37  คน  ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน  และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/2  จำนวน  38  คน  ได้รับจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ  4MAT  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี  3  ชนิด  ได้แก่  (1)  แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานและแบบ  4MAT  วิธีการสอนละ  8  แผน  ใช้เวลาสอน  แผนละ  2  ชั่วโมง                     รวมทั้งหมด  16  ชั่วโมง  (2)  แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ  ชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก  จำนวน  40  ข้อ  ซึ่งมีอำนาจจำแนกตั้งแต่  .36  ถึง  .94  ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  .81  และ  (3)  แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษ  จำนวน  20  ข้อ  ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่  .20  ถึง  1.00  ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  .88  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และทดสอบสมมติฐานด้วย  (Independent  t–test) 
                   ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
                         1.  แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ  โดยการจัดกิจกรรม                การเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานมีประสิทธิภาพเท่ากับ  84.94/83.04  และแผนการจัดกิจกรรม                   การเรียนรู้แบบ  4MAT  มีประสิทธิภาพเท่ากับ  80.14/78.88  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์  70/70
                         2.  ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ                      โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน และแบบ  4MAT  มีค่าเท่ากับ  0.6562  และ0.5847  ตามลำดับ
                         3.  นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ                     โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน  มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษสูงกว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ  4MAT  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05
                         4.  นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน  และแบบ  4MAT            มีความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษ  โดยรวมอยู่ในระดับมาก 
                   โดยสรุป  แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการอ่านภาษาอังกฤษแบบใช้สมองเป็นฐานและแบบ  4MAT  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  เหมาะสม  นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าแบบ  4MAT  นักเรียนทั้ง  2  กลุ่ม 
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ดังนั้น  จึงสมควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษด้านการอ่าน  นำวิธีการทั้งสอง  2  วิธีนี้ไปใช้จัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลตามจุดประสงค์ของรายวิชาต่อไป

TITLE                    A  Comparison  of  English  Reading  Abilities  of  Matthayomsueksa 1 Students

                                  between  Organization  of  Brain-based  learning  Activities  and  4MAT 
                                  Activities
AUTHOR             Miss  Churaiwan  Saosungyang

ADVISORS         Assoc. Prof.  Dr.  Lakkhana  Sariwat  and

                                  Assoc. Prof. Dr.  Wimonrat  Soonthornrojana 

DEGREE              M.Ed.       MAJOR     Curriculum and  Instruction
UNIVERSITY    Mahasarakham  University      DATE    2010

ABSTRACT


                   The  researcher  has  found  the  problem  of  Matthayomsueksa  1  (grade 7)  students’  English  learning  achievement  which  is  lower  than  the  requirement  established  by  the  office of  Roi  Et  Educational  Service  Area  Zone 2.    She  has  also  realized  the  importance  of  English learning  in  as  of  the  4  skills  :  listening,  speaking,  reading,  and  writing  skills,  particularly reading  skill  which  is  very  necessary  and  important  to  the  daily  life.    Thus  the  researcher  has  organized  brain-based  learning  activities  and  4MAT  learning  activities  which  are  useful  to English  reading  skill  development.    The  purposes  of  this  study  were  to  : 
1)  find  out efficiencies  of  the  plans  for  organization  of  English  reading  learning  activities  for  Mathayomsueksa  1  students  between  organization  of  brain-based  learning  activities  and  4MAT  activities  with  a  required  efficiency  of  70/70,  2)  find  out  effectiveness  indices  of  the plans  for  organization  of  brain-based  learning  activities  and  4MAT  activities , 3)  compare English  reading  abilities  of  Matthayomsueksa  1  students  between  organization  of  brain-based learning  activities  and  4MAT  activities,  and  4)  examine  satisfaction  with  English  learning  of the  students  who  received  organization  of  brain-based  learning  activities  and  4MAT activities.    The  sample  used  in  the  study  consisted  of  75  Matthayomsueksa  1  students  from 2  classrooms  as  Sai  Thong  witthaya  School,  Amphoe  Phon  Sai,  under  the  Office of  Roi  Et Educational  Service  Area  Zone  2  in  the academic  year  2009,  obtained  using  the  simple random  sampling  technique.    Thirty-seven  Matthayomsueksa  1/1  students  received organization  of  brain-based  learning  activities  and  38  Matthayomsueksa  1/2  students  received organization  of  4MAT  learning  activities.    Three  types  of  the  instruments  used  in  the  study were :  (1)  plans  for  organization  of  brain-Based  learning  activities  and  4MAT  activities,  
8  plans  each,  each  taught  for  2  hours,  totally  16  hours  ;  these plans  were  evaluated  by experts  and  found  to  have  quality  at  the  most  appropriate  level ;  (2)  a  40-item  4-choice English  reading  ability  test  with  discriminating  posers  ranging  .36-.94  and  a  reliability  of  .81,  and  (3)  a  20-item  scale  on  satisfaction  with  English  learning  with  discriminating  powers  ranging  .20-1.00  and  a  reliability  of  .88.   The  statistics  used  for  analyzing  the collected  data  were  percentage,  mean,  and  standard  deviation  ;  and  (Independent  t-test)          was  employed  for  testing  hypotheses.
                   The  results  of  the  study  were  as  follows  :
1.         The plans  for  organization  of  English  reading  learning  activities  by
organization  of  brain-based  learning  activities  had  an  efficiency  of  84.94/83.04,  and  the  plans  for  organization  of  4MAT  learning  activities  had  an  efficiency  of  80.14/78.88  which were  met  the  requirement  of  70/70.   
2.         An  effectiveness  index  of  the  plans  for  organization  of  English  reading
learning  activities  by  organization  of  brain-based  learning  activities and  by  the 4MAT
activities  were  0.6562  and 0.5847  respectively.
3.         The  students  who  learned  using  the  plans  for  organization  of  English
reading  learning  activities  showed  a  higher  mean  score  on  English  reading  ability  than  those using  organization of  4MAT  learning  activities  at  the  .05  level  of  significance.
4.         The  students  who  learned  using  organization  of  brain-based  learning
activities  and  those  using  4MAT  activities  showed  their  satisfaction  with  English  learning  as a  whole  at  a  high  level.
                   In  conclusion,  the  plans  for  organization  of  brain-based  English  reading  learning activities  and  4MAT  activities  were  appropriately  efficient  and  effective.    The  students  who learned  using  brain-based  learning  activities  had  higher  reading  achievement  than  4MAT activities.    The  students  in  both  groups  showed  their  satisfaction  at  a  high  level.    Therefore, English  reading  leaches  should  be  supported  to  implement  these  2  teaching  methods  in organization  of  learning  and  leaching  for  learners  to  achieve  the  course  objectives  in  the future.

บทคัดย่องานวิจัยของนายสมคิด ศรีสัจจา


ชื่อเรื่องสารนิพนธ์            ผลกระทบที่ประเทศไทยได้รับจากสงครามโลกครั้งที่สอง
ชื่อผู้เขียน                              นายสมคิด   ศรีสัจจา
ชื่อปริญญา                            ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต     
สาขาวิชา                               ประวัติศาสตร์
ปีการศึกษา                            2551
คณะกรรมการที่ปรึกษาสารนิพนธ์
                1  รองศาสตราจารย์  ดร.  สมใจ  ไพโรจน์ธีระรัชต์                   ประธานกรรมการ
                2  รองศาสตราจารย์  ผุสดี  จันทวิมล                                              กรรมการ

                สงครามโลกครั้งที่  2  เกิดขึ้นระหว่าง    พ.ศ. 2482 2488 ( ค.ศ.  1939  -  1945 )เริ่มต้นจากความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจในยุโรปสองฝ่าย  คือฝ่ายพันธมิตร  ประกอบด้วย  ประเทศอังกฤษ  ฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆและอีกฝ่ายหนึ่งคือ  ฝ่ายอักษะ  ซึ่งมีประเทศเยอรมนี  อิตาลี  ญี่ปุ่น และพันธมิตร
                แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นไม่ได้ประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตร  แต่เมื่อญี่ปุ่นเข้าโจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกา โดยไม่ได้ประกาศสงครามก่อน  เมื่อวันที่  8  ธันวาคม  พ.ศ. 2484 ( ค.ศ. 1941)  ที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ ( Pearl  Harbour)  ในหมู่เกาะฮาวาย  เพราะคาดการณ์ว่าฝ่ายพันธมิตรจะต้องแพ้สงครามต่อฝ่ายอักษะ  จึงเป็นโอกาสของญี่ปุ่นที่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์จากดินแดนที่เป็นอาณานิคมของชนผิวขาวตะวันตก  และต้องการทำลายอาณานิคม  และอิทธิพลของชาติตะวันตกในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  พร้อมทั้งมีการสร้างวงศ์ไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา  โดยมีญี่ปุ่นเป็นผู้นำ
                ขณะที่ญี่ปุ่นส่งกำลังทหารเข้าโจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกาที่  เพิร์ล
ฮาร์เบอร์  นั้น   ในเวลาใกล้เคียงกัน  ญี่ปุ่นได้ส่งกำลังส่วนหนึ่งบุกเข้าประเทศไทยทั้งทางบกและทางทะเล  พร้อมกับยื่นข้อเรียกร้องต่างๆให้กับรัฐบาลไทย  จนฝ่ายไทยต้องยอมตกลงร่วมมือกันทางทหารกับญี่ปุ่น  ในขณะเดียวกันก็ได้ใช้ประเทศไทยเป็นที่ตั้งฐานทัพที่จะทำสงครามกับฝ่ายพันธมิตร  และบังคับให้รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตรด้วย
                เมื่อสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น  ผลกระทบย่อมเกิดกับประเทศไทยในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับชาติตะวันตก  และเมื่อชาวต่างชาติอย่างทหารญี่ปุ่นเข้ามาอยู่ในดินแดนของไทยเป็นจำนวนมาก  จึงเกิดผลกระทบต่อความมั่นคง  เศรษฐกิจ การเมืองและสังคมติดตามมา
                สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษารายละเอียดของผลกระทบดังกล่าวที่มีต่อ
ประเทศไทย  ทั้งในช่วงที่สงครามกำลังดำเนินอยู่และหลังสงครามยุติลง