จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บทคัดย่องานวิจัยของนางสาวพนิดา เอี่ยมนูญ


บทคัดย่องานวิจัยของพนิดา  เอี่ยมนูญ
โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์  สำนักงานเขตสวนหลวง   กรุงเทพมหานคร
             การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์
      ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์
               ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.  
               การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย  เพื่อการศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร จำนวน 35 คน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ ใช้แผนการวิจัยแบบ One Group
Pretest – Posttest Design และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ t-test แบบ Dependent Sample
            ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
                1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
                2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์มีความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Panida Aiemnoon.  (2010).  A Study of the  Results  from Learning Management  by  Using
                    the Learning Activity Packages of Science Projects on Achievement and the Scientific 
               Creative  Thinking  Skill  of   Mathayomsuksa  I  Students.

            The purpose of this research was to study of the results from learning management by using the learning activity packages of science projects on  achievement  and  the scientific creative thinking skill of Mathayomsuksa I students.
            The sample in this research were 35 Mathayomsuksa I students of Mathayomnaknava-upathum School , Suanlaung District, Bangkok, during the second semester of the 2010 academic year. The experimental group was taught  by  using  the activity packages of  Science  Projects . The  research  design  of  this  study was  the One Group Pretest-Posttest  Design. The  t-test  for  Dependent  Sample  was used  for  data  analysis.
            The results of this study indicated that
                1. The students were taught by the activity packages of Science Projects  , the scientific achievement of post-test being higher than pre-test with statistically  significant  difference  at  the .01 level.
                2. The students were taught by the activity packages  of  Science Projects  , the scientific creative thinking of post-test being higher than pre-test with statistically  significant difference at  the .01 level.

             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น